Back Slim ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ําหนัก สูตรดื้อยา*2
ควบคุมความอยากอาหาร ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานจุกจิกให
ต้นไหลแดง หรือโล่ติ้น
ชื่อท้องถิ่น : ไหลแดง
ชื่ออื่น : กะลำเพาะ เครือไหลน้ำ หางไหลแดง ไหลน้ำ อวดน้ำ และโพตะโกซ่า
ชื่อสามัญ : Tuba root
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris sp.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE
ความเป็นมา
มีรายงานว่าชาวจีนเป็นผู้นำโล่ติ๊นมาปลูกเมื่อปี พ.ศ.2470 โดยใช้ส่วนของรากทุบแช่น้ำค้างคืน สังเกตว่าน้ำที่แช่โลติ๊นขุ่นขาวคล้ายน้ำซาวข้าว ก็จะนำไปรดสวนผักเพื่อฆ่าหนอน หรือแมลงที่มากัดกินผัก ซึ่งนับว่าได้ผลดี ในสมัยต่อมาได้มีผู้วิเคราะห์รากโลติ๊นพบว่ามีสารที่มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวมีพิษ เรียกชื่อสารพิษนี้ในเวลาต่อมาว่า โรตีโนน (Rotinone) สารพิษนี้นอกจากจะมีคุณสมบัติในการเบื่อปลาแล้ว ยังพบว่ามีประสิทธิภาพในการฆ่าแมลงอีกด้วย โดยแมลงจะดูดซึมเข้าไปในกระเพาะ หรือใช้ในรูปของสารไล่แมลง เป็นสารอินทรีย์สลายเร็ว ไม่ตกค้างในพืชอาหารและสิงแวดล้อมในเมืองไทยพบว่า มีพืชวงศ์เดียวกับโลติ๊นประมาณ 21 ชนิด แต่มีเพียง 2 ชนิดเท่านั้นที่พบว่า มีสารพิษมากและนิยมปลูกเป็นการค้า คือ ชนิดแดง และชนิดขาว ซึ่งพบว่ามีสารพิษอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย 4-5 เปอร์เซนต์ ในไทยพบชนิดแดงมากกว่าขาว โดยพบมากตามบริเวณแม่น้ำปิง ตั้งแต่อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ จนถึงอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ส่วนภาคกลางพบมากแถวปราจีนบุรี ชลบุรี จันทบุรี และท้องที่ใกล้เคียง ในภาคกลางนอกจากจะเรียกว่า หางไหล อาจเรียกชื่อตามท้องถิ่นที่มีพืชนี้ขึ้นว่า อวดน้ำ ไหลน้ำ กะลำเพาะ และโพตะโกซ่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบบริเวณต้นน้ำและเชิงเทือกเขาภูพาน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ลำต้นโดยทั่วไปมีลักษณะกลม ใบอ่อนและยอดมีขนอ่อนสีน้ำตาลปนแดง เถาหรือลำต้นส่วนที่แก่มีสีน้ำตาลปนแดงเช่นกัน แต่จะเริ่มมีสีเขียวเห็นชัดตรงปล้องที่อยู่ก่อนถึงยอดประมาณ 2-3 ปล้อง ใบแก่มีสีเขียว ในก้านใบหนึ่งๆ จะมีใบตั้งแต่ 5 ถึง13 ใบ โดยใบจะขึ้นเป็นคู่ๆตรงข้ามกัน 2-4 คู่ ใบคู่แรก (นับจากโคนก้านใบ) จะมีขนาดเล็กที่สุด และเริ่มใหญ่ขึ้นเป็นลำดับ ใบสุดท้ายที่อยู่ตรงยอดจะเป็นใบเดี่ยว ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดก้านใบแต่ละก้านจะขึ้นบนลำต้นสลับด้านกัน
ใบมีลักษณะคล้ายรูปไข่ กว้างประมาณ 3.0 - 9.5 ซ.ม. และยาวตั้งแต่ 6.5 - 27.0 ซ.ม. โคนใบเล็กเรียวขึ้นไปและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ พื้นใบด้านบนสีเขียวลักษณะมัน เส้นแขนงลักษณะคล้ายก้างปลาได้ชัด แต่ไม่ยาวจนชิดขอบใบ ด้านท้องใบมีสีเขียวและเห็นเส้นใบชัดกว่าด้านบน เส้นใบมีลักษณะเขียวปนน้ำตาล ดอกออกเป็นช่อ มีลักษณะคล้ายดอกแคฝรั่ง ดอกตูมมีสีชมพูอมม่วง เมื่อบานเต็มที่จะเป็นสีชมพูอ่อน และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีขาว ช่อดอกออกตามลำต้น แต่ละช่อยาวประมาณ 20-25 ซ.ม. ผลเกิดจากการผสมเกสร มีลักษณะเป็นฝักแบน ฝักอ่อนมีสีเขียวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนแดงเมื่อฝักแก่ ภายในฝักมีเมล็ด ซึ่งมีลักษณะกลม และแบนเล็กน้อย สีน้ำตาลปนแดงเมื่อฝักแก่จะแยกออกจากกัน ทำให้เมล็ดร่วงลงพื้นดิน
เมื่อมีความชื้นพอเหมาะ เมล็ดก็จะงอกและเจริญเติบโตเป็นลำต้นต่อไปพืชชนิดนี้มีทรงพุ่มหนาทึบ อาจใหญ่หรือเล็กกว่าขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม สามารถปลูกเป็นไม้ร่มหรือไม้ดอกก็ได้
การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเมล็ด ใช้เถาที่แก่พอประมาณ คือเถาที่มีสีน้ำตาลขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ซม. ขึ้นไป หรือมีข้อ 3-4 ข้อ ตัดเฉียงเป็นท่อน ๆ ละ 20-30 ซม. ปักชำในถุงพลาสติกที่มีขี้เถาแกลบผสมดิน อัตราส่วน 2:1 ก่อนปักชำจุ่มท่อนพันธุ์ในสารละลายเซราดิค นัมเบอร์2 ปักชำกิ่งทำมุม 45 องศากับผิวดิน ภายใน 3 สัปดาห์ จะมีรากงอกออกมา และมีตุ่มขึ้นตรงข้อ ซึ่งตุ่มนี้จะแตกเป็นต้นอ่อนเจริญเติบโตต่อไป กิ่งปักชำนี้สามารถย้ายปลูกในแปลงภายใน 6 ถึง 9 สัปดาห์ บางครั้งเกษตรกรอาจปักชำในแปลงเพาะและถอนย้ายไปปลูกในแปลงใหญ่ ซึ่งวิธีนี้รากกระทบกระเทือนตอนย้ายปลูก ทำให้ต้นกล้าตายมาก
ระยะปลูก : 1.5 x1.5 เมตร 700 ต้นต่อไร่
การใช้ประโยชน์ทางการเกษตร
สารพิษในโล่ติ้น นอกจากจะมีคุณสมบัติในการเบื่อปลาแล้ว ยังพบว่าเมื่อพ่นบนตัวแมลง สารพิษจะถูกดูดซึมเข้าไปในกระเพาะ ทำให้แมลงตายได้ หรือใช้ในรูปของสารไล่แมลง การใช้สารพิษอาจใช้ในรูปของสารละลายหรือในรูปผง ถ้าใช้ในรูปผงจะมีประสิทธิภาพใน การฆ่าหมัด เห็บ ไรไก่ ปลวก แมลงวัน เรือด เพลี้ยอ่อนบางชนิด หนอนเจาะผัก มวนปีก แก้ว ด้วงเต่าแตง ด้วงหมัดผัก เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงหนอนเจาะกะหล่ำปลี และศัตรูพืชผักต่าง ๆ เป็นต้น สารพิษในโล่ติ้นสามารถใช้พ่นโดยตรงบนต้นอ่อนและใบอ่อนของพืช โดยไม่เกิดอันตรายกับพืชเพราะสารนี้เป็นสารอินทรีย์ที่ได้จากพืช สลายตัวเร็ว ไม่มีผลตกค้างในพืชอาหารและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากโล่ติ๊นเป็นพืชตระกูลถั่ว สามารถปลูกเพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดินแล้วยังใช้ ปลูกเป็นพืชคลุมดิน เพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้นจากดิน และป้องกันการชะล้างของดินได้อีกด้วย
วิธีใช้ทางการเกษตร
ใช้รากที่ทุบแล้ว 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ปีบ แช่ไว้ 2 วัน สังเกตว่าน้ำที่แช่โล่ติ๊นขุ่นขาว คล้ายน้ำซาวข้าว กรองเอาแต่น้ำ นำไปฉีดแปลงพืชผลในช่วงที่มีแดดอ่อน เพื่อฆ่าหนอนและแมลงชนิดต่าง ๆ นอกจากนั้นยังใช้ฆ่าเหา เรือด และเบื่อปลา กุ้ง หอย ปู เพื่อเตรียมสระเลี้ยงสัตว์น้ำ วัยอ่อนเป็นอย่างดี
ประโยชน์ทางยา
ในสมัยโบราณแพทย์ตามชนบทได้ใช้เถาโล่ติ๊นผสมกับยาอื่นๆเพื่อปรุงเป็นยาขับระดูสตรี แก้ระดูเป็นลิ่มหรือก้อน นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า แพทย์โบราณทางจังหวัดสุโขทัยใช้เถาโล่ติ๊นตากแห้ง และหั่นเป็นชิ้นเล็กๆสำหรับดองสุรารับประทาน เพื่อใช้เป็นยาขับลมและบำรุงโลหิตยาถ่ายเส้นเอ็น ถ่ายลมและถ่ายเสมหะอีกด้วย แต่การใช้พืชสมุนไพรทุกชนิดอาจมีผลข้างเคียง ฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยก่อนใช้ยาควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง
oregonphysicianjobsmercy.org |
drjinekolog.com |
culcasg.org |
yudoanggoro.com etude house พร้อมส่ง อินทูดี้ของแท้ |
โรงงานผลิตครีมผิวขาว ท่านใดสนใจ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ |
|
สูตรพอกหน้าขาวใสด้วยวิธีธรรมชาติ ทำเองได้ที่บ้าน อ่านข้อมูลได้ที่ naadeng.com/nourishing-face-masks |
||
|
||
![]() |
||
โรงงานผลิตครีม สยามโกลด์แลป ให้บริการแบบครบวงจร one stop service |
||
บริษัท ไลฟ์ พลัส ฟาร์มาซูติคอล จำกัด ให้บริการรับผลิตอาหารเสริมด้วยระบบ One stop service |
||
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ครีมมาร์คหน้า ใช้ดีจนต้องบอกต่อ |
บริษัทผลิตอาหารเสริม ที่ได้มาตรฐาน GMP รับผลิตอาหารเสริม OEM และ ODM ทุกรูปแบบ |
||
โรงงานผลิตครีม ได้มาตรฐานระดับสากล |
สูตรพอกหน้าด้วยถั่วเขียว |
พอกหน้าโยเกิร์ต + เกลือป่น |
ไข่ขาวพอกหน้า พร้อมวิธีทำ |
น้ําผึ้งมาร์คหน้า ขจัดเซลล์ผิวเก่า |
วิธีทําให้หน้าขาวใส อมชมพู ดูสุขภาพดี |
สูตรผิวขาวเร็วจากธรรมชาติ |
วิธีรักษาสิวและป้องกันสิว |
วิธีรักษาหลุมสิวและสาเหตุของหลุมสิว |
วิธีรักษาสิวอุดตันด้วยตัวเอง |
วิธีรักษาสิวอักเสบ |
วิธีรักษาสิวผดและสาเหตุของสิวผด |
วิธีรักษาฝ้าและสาเหตุการเกิดฝ้า |
กระชับรูขุมขนด้วยตัวคุณเอง |
วิธีแก้ผมร่วงอย่างได้ผล |
วิธีเร่งผมยาวด้วยสูตรธรรมชาติ |
สูตรขัดผิวขาวด้วยน้ำมันมะกอก |
สูตรหมักผมเสีย + วิธีทำ |
![]() wholesale jewelry bangkok |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |